วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของนิราศนรินทร์คำโคลง

        นิราศนริทร์คำโคลง แต่งขึ้นโดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กหุ้มแพร รับราชการวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ นายนรินทรธิเบศร์แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป นิราศเรื่องนี้นับว่าเป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีสำนวนโวหารไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง เหมาะสำหรับการนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็นการพรรณนาอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ ที่คงรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี

        หนังสือประเภทนิราศ สันนิษฐานว่ามีมาช้านานและปรากฏในหลายชาติภาษา ด้วยบุคคลที่เป็นกวีนั้น เมื่อต้องเดินทางย่อมคิดอ่านที่จะพรรณนาถึงความรู้สึกต่างๆ ที่ตนเองมี หากเป็นการเดินทางชนิดที่ต้องพลัดพรากด้วยแล้ว อารมณ์สะเทือนใจจะยิ่งสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้การเดินทางยังเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดีที่กวีสามารถนำมาร้อยเรียงเล่าเรื่องได้อย่างเพลิดเพลิน หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศนั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น แต่งสมัยพระเจ้าปราสาททองแต่งในเมฆทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนอกจากนี้ยังมีโคลงทวาทศมาสเป็นต้น นิราศหลายเรื่องจะตั้งชื่อขึ้นด้วยด้วยคำว่า นิราศ ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วในบทความอย่างไรก็ตามยังมีนิราศอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้ตั้งชื่อหรือเรียกชื่อว่านิราศเช่นรำพันพิลาป เป็นต้น

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก

ประวัติผู้แต่ง


           นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วยนายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคำโคลง ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตามชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น
     ในชั้นหลังเราได้ทราบประวัติของท่านจากหนังสือนิราศนรินทร์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ โดยทรงเล่าเพิ่มเติมว่า “…นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ไม่ใคร่จะได้แต่งหนังสือไว้มากนัก และแต่งไว้บ้างก็ล้วนแต่เป็นโคลง ที่ปรากฏว่าเป็นกลอนนั้นน้อยเต็มที โคลงยอพระเกียรติตอนท้ายหนังสือปฐมมาลา ก็เป็นฝีปากของนายนรินทร์ (อิน) จึงสันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ชอบโคลงมากกว่าคำประพันธ์อื่นๆผลงานการประพันธ์ของนายนรินทรธิเบศร์นั้นไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า “..ส่วนที่แต่งไว้ในที่อื่นๆ นั้น ไม่มีที่ใดจะเปรียบกับโคลงนิราศนี้ได้” แต่ทรงมิได้ระบุว่านายนรินทร์ได้แต่งเรื่องอื่นใดไว้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีเพลงยาวอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวว่าเป็นของนายนรินทรธิเบศร์ นั่นคือเพลงยาวของนายนรินทร์ มีเนื้อความดังนี้
   ฉมสุคนธารทิพย์ประทิ่นหอมหรือสาวสุรางค์นางฟ้ามาแปลงปลอมหรือนางจอมไกรลาศจำแลงลงมาโลมโลกให้พี่หลงลานสวาสดิ์ประหลาดบาดตาแลตะลึงหลงควรแผ่แผ่นสุวรรณวาดให้สมทรงเกลือกจะคงจรจากพิมานจันทร์พี่หมายน้องดุจปองปาริกชาติมณโฑไทเทวราชบนสวรรค์หากนิเวศน์นี้ศิวิไลสิไกลกันจะใฝ่ฝันดอกฟ้าสุมามาลย์ฯ


เรื่องย่อ

          นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร  โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์  แล้วกล่าวถึง  ความเจริญของบ้านเมือง  จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
         นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง


ลักษณะคำประพันธ์

   
      แต่งขึ้นด้วยร่ายสุภาพจำนวนหนึ่งบทและโคลงสี่สุภาพ ๑๔๓ บท  

ความรู้เสริมเพิ่มเติม

       สวรรค์ (สันสกฤต: สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้
สวรรค์ในพระพุทธศาสนา สวรรค์ในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี จำแนกออกได้เป็น 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานปราสาทคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้
    ๑.จาตุมหาราชิกา มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญไม่ค่อยเป็น ไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร(พิทยาธร) กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

จาตุมหาราชิกา (บาลี: Ca-tummaha-ra-jika, จาตุมฺมหาราชิกสันสกฤต: Ca-turmaha-ra-jikaka-yika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๑ ตามความเชื่อในพุทธศาสนา และเป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในฉกามาพจรสวรรค์ ๖ ชั้น (จัดอยู่ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุจาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช ๔ องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ  องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน ๔ ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช ปกครองอยู่องค์ละทิศ

เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ (๓๐ วันเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนเป็น ๑ ปี) โดย ๑ วันและ ๑ คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ ๕๐ ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ ๙๐,๐๐๐ ปีโลกมนุษย์)
   ๒. ดาวดึงส์ คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาพระสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง ๓๓ องค์ โดยมี สมเด็จอมรินทราธิราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะดาวดึงส์ (บาลี: ตาวติส โลก) หรือ ตรัยตรึงศ์ไตรตรึงษ์[1] (สันสกฤต: ตฺรายสฺตฺริศ โลก) เป็นชื่อของสวรรค์ (ภูมิของเทวดาทั้งหลาย) อันสำคัญยิ่งในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ คำว่า ตฺรายสฺตฺริศ เป็นรูปคำคุณศัพท์ของคำว่า ตฺรายสฺตฺริศตฺ (จำนวน ๓๓) อาจแปลความหมายได้ว่า "ที่อยู่ของเทพ ๓๓ องค์"สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ วา หรือ ๑๖๘,๐๐๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง ๘๐,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กับมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ ๘๐,๐๐๐ ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง
เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๓๓๖ เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประดับของพระอินทร์  บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ ๔ แห่ง คือ นันทวนุทยาน หรือ สวนนันทวัน (สวนที่รื่นรมย์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์
ผรุสกวัน หรือ ปารุสกวัน (ป่าลิ้นจี่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี มีก้อนแก้วใส ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม จิตรลดาวัน (ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ
สักกวัน หรือ มิสกวัน (ป่าไม้ระคน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ
   ๓. ยามา เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นยามา ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๓อยู่สูงกว่าดาวดึงส์ แต่ต่ำกว่าดุสิต มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นยามาอยู่สูงกว่าดาวดึงส์ไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เทวดาในชั้นนี้มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงาม เทวดามีกายสูง ๘,๐๐๐ วา เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงมาก แสงอาทิตย์จึงส่องมาไม่ถึง แต่สวรรค์ชั้นนี้ก็ไม่เคยมืดเพราะมีรัสมีจากกายของเทวดาส่องให้ทั้งภูมินี้สว่างไสวอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะกำหนดวันคืน เทวดาในชั้นนี้จะดูจากดอกไม้ทิพย์ หากดอกไม้บานแสดงว่าเป็นเวลารุ่งเช้า หากดอกไม้หุบเป็นเวลากลางคืนอายุของเทวดาในชั้นยามายาวนานถึง ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์
   ๔. ดุสิต คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพ-สัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๔ อยู่สูงกว่ายามา แต่ต่ำกว่านิมมานรดี มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นยามาไป ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงามยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่อยู่ต่ำกว่า เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่กำลังจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป โดยมีพระศรีอริยเมตไตรยดำรงตำแหน่งเป็นท้าวสันดุสิตจอมเทพองค์ปัจจุบันของสวรรค์ชั้นนี้
อายุของเทวดาในชั้นดุสิตยาวนานถึง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์
   ๕. นิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ให้ทานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานเพราะมีความสุขในการให้ ให้ทานด้วยคิดว่า "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับท่านฤๅษี ทั้งหลายคือ ท่านอัฏฐกฤๅษี ท่าวามกฤๅษี ท่านวาม เทวฤๅษี ท่านเวสสามิตรฤๅษี ท่านยมทัคคฤๅษี ท่านอังคีรสฤๅษี ท่านภารทวาชฤๅษี ท่านวาเสฏฐฤๅษี ท่านกัสสปฤๅษี ท่านภคุฤๅษี" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำ กาลกิริยาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๕ อยู่สูงกว่าชั้นดุสิต แต่ต่ำกว่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นดุสิตไป ๓๓๖,๐๐๐ โยชน์ มีวิมานทอง กำแพงแก้ว กำแพงทองล้อมรอบ แผ่นดินเป็นทองราบเรียบเสมอกันโดยตลอด เทวดาในชั้นนี้ปรารถนายินดีในสิ่งใดก็สามารถเนรมิตขึ้นมาได้เองตามปรารถนาทุกประการ จึงได้ชื่อว่า "นิมมานรดี" (ยินดีในการเนรมิต) อายุของเทวดาในชั้นนิมมานรดียาวนานถึง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์
   ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ อยู่สูงกว่านิมมานรดี แต่ต่ำกว่าพรหมภูมิ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพเพียงพระองค์เดียว ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่านิมมานรดีไป ๖๗๒,๐๐๐โยชน์ และระบุต่างจากพระไตรปิฎกว่าสวรรค์ชั้นนี้มีจอมเทพสององค์คือ ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทวราชและพญามาราธิราช หากว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ต้องเนรมิตขึ้นเอง แต่จะมีเทวดาองค์อื่นมาเนรมิตให้ จึงได้ชื่อว่า "ปรนิมมิต" (ผู้อื่นเนรมิต) อายุของเทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตดียาวนานถึง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๘,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ปีมนุษย์ นางวิสาขา ก็มาอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้
เขาพระสุเมรุ ตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงมนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ เขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีภูเขารองรับ ๓ ลูก โดยส่วนฐานคือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ ๗ ทิว เรียกว่า สัตตบริภัณฑคีรี คือ ทิวเขา ยุคนธร กรวิก อิสินธร สุทัศ เนมินธร วินตกและอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และบริวารสถิตอยู่ ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกัน เป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล โดยแต่ละจักรวาลมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวดึงส์ ยังมีมหาทวีปทั้ง ๔ คือ อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่เหนือของภูเขาพระสุเมรุ
            ปุพพวิเทหะ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
            ชมพูทวีป ตั้งอยู่ตอนใต้เขาพระสุเมรุ คือโลกของเรา
            อมรโคยาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
            ในมหาทวีปยังมีทวีปน้อย ๆ เป็นบริวารอีก ๒,๐๐๐ ทวีป
   ในทิศทั้ง ๔ ของจักรวาล  มีมหาสมุทรทั้ง ๔ อันมีน้ำเต็มเป็นนิจ ประกอบด้วย
ปิตสาคร ทางทิศเหนือ มีน้ำสีเหลือง
ผลิกสาคร ทางทิศตะวันตก มีน้ำใสสะอาด เหมือนแก้วผลึก
ขีรสาคร เกษียรสมุทร ทางทิศตะวันออก มีน้ำสีขาว
นิลสาคร ทางทิศใต้ มีน้ำสีเขียว
บนยอดเขาพระสุเมรุ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์อยู่ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลก และพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์ ตำนานฝ่ายพราหมณ์เล่าว่า พระอิศวรทรงสร้างน้ำด้วยพระเสโท (เหงื่อ) สร้างแผ่นดินด้วยเมโท (ไคล) ของพระองค์ บางตำนานเล่าว่าทรงสำรอกพระมังสะในพระอุระออกมาบันดาลให้เป็นแผ่นดิน

บทวิเคราะห์

นิราศนรินทร์คำโคลงทุกบทเปรียบเสมือนเพรชน้ำเอกที่ได้รับการเจียระไนอย่างงดงามมีความโดดเด่นทั้งถ้อยคำ ถ้อยความ และโวหารเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ เปี่ยมด้วยศิลปะการประพันธ์หลายประการ ดังนี้  
       ) ด้านกลวิธีการแต่ง
       ภาพพจน์
       ๓) ด้านสังคม